เหล็กเสริมคอนกรีต (REINFORCED STEEL BAR)

เหล็กเส้น (Rebar) ใช้สำหรับนำมาเสริมคอนกรีตในบริเวณที่รับแรงดึงหรือต้านทานการแตกร้าวในคอนกรีต แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) และ เหล็กข้ออ้อย (Deformed Bar, DB) เหล็กเส้นกลมผิวเรียบ (Round Bar, RB) ตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 20-2543 … Read More

เสาตอม่อ (GROUND COLUMN)

เสาตอม่อ (Ground Column) คือ เสาสั้นส่วนที่อยู่ล่างสุดระหว่างฐานรากกับคาน โดยทั่วไปเสาตอม่อจะจมอยู่ใต้ดิน ทำหน้าที่รับแรงอัดหรือน้ำหนักในทางดิ่ง แล้วถ่ายน้ำหนักลงสู่ฐานรากและเสาเข็ม เสาตอม่อ จะเป็นเสาสั้นๆ ส่วนมากจะมีความสูงประมาณ 50-100 เซนติเมตร แต่เป็นเสาที่มีความสำคัญเป็นอย่างมาก เนื่องจากต้องทำหน้าที่รับน้ำหนักของเสาที่อยู่ชั้นบน ขั้นตอนการก่อสร้างเสาตอม่อ เนื่องจากว่าเสาตอม่อนั้นจะวางอยู่บนฐานราก ดังนั้นจึงเริ่มจากงานฐานรากก่อน โดยในตอนก่อสร้างฐานรากนั้นจะต้องวางเหล็กเสริมเสาตอม่อไปพร้อมกับฐานราก และต้องตรวจสอบให้เสาตอม่ออยู่กึ่งกลางฐานราก … Read More

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (REINFORCED CONCRETE COLUMNS)

เสาคอนกรีตเสริมเหล็ก (Reinforced Concrete Columns) จะเป็นตัวรับน้ำหนักของอาคาร โดยตัวอาคารจะถ่ายน้ำหนักมาลงที่เสาในแนวดิ่ง และในบางครั้งอาจจะต้องรับโมเมนต์ดัดด้วย ซึ่งเสาจะมีรูปแบบและข้อกำหนดที่แตกต่างกันไป ในการพิจารณาออกแบบเสาจะต้องพิจารณาถึงการรับแรงของเสาและลักษณะปลายยึดของหัวเสาด้วย ลักษณะของเสาคอนกรีตเสริมเหล็ก สามารถแบ่งโดยสังเขปเป็น 2 ประเภท ดังนี้ แบ่งตามลักษณะของแรงที่มากระทำ สามารถแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ ดังนี้ เสาคอนกรีตเสริมเหล็กที่รับแรงตามแนวศูนย์กลางแกนเสา … Read More

เครื่องสั่นคอนกรีต (CONCRETE VIBRATOR) เครื่องมือขาดไม่ได้ แต่ต้องใช้ให้ถูกวิธี

ในงานคอนกรีตจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทำการอัดแน่นคอนกรีตก่อนที่จะแข็งตัว เพื่อให้คอนกรีตมีกำลังอัดที่ดี ทำให้เนื้อคอนกรีตอัดแน่นสม่ำเสมอ ไม่เป็นรูโพรง ไม่มีแตกตัวหรือแยกตัวออกจากกัน มีการยึดเกาะยึดเหนี่ยวที่ดีของเหล็กที่ผูกไว้เป็นแบบหล่อ หรือเป็นเหล็กเส้นที่เสริมระหว่างคอนกรีต วิธีการอัดแน่นคอนกรีต สามารถทำได้หลายวิธีดังนี้ – การเหวี่ยงหนีศูนย์ (Centrifugation) – การกระทุ้ง (Tamping) – การตำ (Rodding) – การเขย่า … Read More

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์

ลักษณะของปั้นจั่นสำหรับตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ของ ภูมิสยามซัพพลาย นั้นมีความยาวแนวราบ 3 เมตร  และมีความสูง 3 เมตร ส่วนของความกว้างของปั่นจั่นมีความกว้างเพียงแค่ 1 เมตรเท่านั้น จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะเข้าทำงานในพื้นที่จำกัดได้โดยสะดวก ความยาวในแนวราบ 3 m ความสูง 3 m ความกว้าง 1 m ลูกตุ้มมีน้ำหนัก … Read More

จะสร้างบ้านทั้งที ควรตอกเสาเข็มให้ลึกเท่าไหร่ บ้านถึงจะไม่ทรุด

ความสำคัญของเสาเข็ม เสาเข็มเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของโครงสร้างบ้าน เป็นส่วนประกอบของฐานรากซึ่งจะฝังตัวอยู่ในดินเพื่อทำหน้าที่รองรับน้ำหนักบ้านทั้งหลัง หากว่าเราสร้างบ้านแล้วไม่ได้ลงเสาเข็มไว้ น้ำหนักของตัวบ้านก็จะกดทับผิวดินด้านบนให้ค่อยทรุดตัวลงทีละนิดจนก่อให้เกิดความเสียหายต่อโครงสร้างบ้านได้ เสาเข็มช่วยแก้ปัญหาบ้านทรุดได้ยังไง เสาเข็มรับน้ำหนักได้อย่างไร? เสาเข็มสามารถรับน้ำหนักที่กดทับได้ด้วยแรง 2 ชนิดหลักๆ คือ แรงเสียดทานที่ผิวของเสาเข็ม (Skin Friction) คือแรงต้านที่เกิดจากแรงเสียดทานระหว่างผิวของเสาเข็มกับดินโดยรอบ ซึ่งแรงที่เกิดขึ้นนี้จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับชนิดของดินและลักษณะของเสาเข็มแต่ละประเภท แรงต้านที่ปลายเสาเข็ม (End Bearing) คือแรงต้านที่เกิดขึ้นบริเวณปลายเสาเข็ม … Read More

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

คุณสมบัติของคอนกรีตที่ใช้ผลิตเสาเข็มสปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) หินและทราย: ตรวจสอบ GRADATION ตามข้อกำหนดของมวลรวมผสม มอก.398-2524 ปูนซิเมนต์ปอร์ตแลนด์: ตามข้อกำหนดของ ASTM DESIGNATION c150 TYPE1 หรือ TYPE3 หรือตามข้อกำหนด มอก.15-2524/2517 ประเภท1 หรือประเภท3 … Read More

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

ขั้นตอนและวิธีการตอกเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) ภูมิสยามซัพพลาย มีกระบวนการดังนี้ ย้ายตัวปั่นจั่นให้เข้าที่ เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่จะทำการลงเสาเข็มสปันไมโครไพล์ และหลังจากนั้นจะทำการทดสอบโดยการทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ทิ้งลูกดิ่งเพื่อหาจุดศูนย์กลางว่าได้ระยะดิ่งตรงกลางระหว่าง cap pile กับหมุดศูนย์ที่กำหนดไว้หรือไม่ นำเสาเข็มสปันไมโครไพล์ท่อนแรกไปวางในตำแหน่งที่กำหนดไว้ พร้อมทั้งตรวจสอบความถูกต้องโดยการจับระดับด้วยมาตรวัดระดับน้ำเพื่อให้ได้แนวดิ่ง ทั้งแกน x และ … Read More

การตอกเสาเข็มไมโครไพล์ ให้ลึกถึงระดับมาตรฐาน (BLOW COUNT)

การจะดูว่าการตอกเสาเข็มในแต่ละจุดว่าเสร็จสิ้นเรียบร้อยตามมาตรฐานที่กำหนดหรือไม่นั้น มิใช่ดูแต่เพียงว่าเสาเข็มตอกจมมิดลงไปในดินเท่านั้น แต่จะต้องดูจำนวนครั้งในการตอกด้วย (Blow Count) ว่าเสาเข็มแต่ละต้นใช้จำนวนครั้งในการตอกเท่าใดจนเสาเข็มจมมิดดิน ถ้าจำนวนครั้งในการตอกน้อยเกินไป คือสามารถตอกลงไปได้ง่าย แสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักยังไม่เพียงพอ อาจจะต้องมีการต่อเสาเข็มและตอกเพิ่มลงไปอีกจนกว่าจำนวนครั้งในการตอกจะเป็นไปตามที่กำหนด ในทางตรงกันข้ามถ้าจำนวนครั้งในการตอกมากเพียงพอแล้วแม้ว่าเสาเข็มที่ตอกนั้นจะยังจมไม่มิดก็อาจแสดงว่าความแน่นของดินที่จุดนั้นที่จะใช้ในการรับน้ำหนักเพียงพอแล้ว ไม่จำเป็นจะต้องตอกต่อลงไปอีก เพราะการฝืนตอกต่อไปอาจทำให้เสาเข็มแตกหักหรือชำรุดได้ ส่วนจำนวนครั้งในการตอกเสาเข็มแต่ละต้นควรจะเป็นเท่าใดนั้นวิศวกรจะเป็นผู้กำหนด ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิด ขนาดของพื้นที่หน้าตัดเสาเข็ม และความยาวของเสาเข็มนั้น ๆ

ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) โรงงานปลากระป๋อง สามแม่ครัว จ.สมุทรสาคร 120 ต้น

งานตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) มาตรฐาน มอก. โรงงานปลากระป๋อง สามแม่ครัว สมุทรสาคร บริษัท รอแยลฟู้ดส์ จำกัด | Royal Foods Co., Ltd. สถานที่: ต.ท่าทาย … Read More

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (DYNAMIC LOAD TEST)

การทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็มด้วยวิธีพลศาสตร์ (Dynamic Load Test) เป็นที่ยอมรับทั่วไปและมีมาตรฐานรองรับ ได้แก่ ASTM D4945-96 นอกจากนั้น การทดสอบดังกล่าวมีข้อดีหลายประการ เช่น สามารถทำการทดสอบได้ภายในระยะเวลาสั้น ๆ เสาเข็มหลายต้นสามารถทําการทดสอบได้ในวันเดียว ต้องการพื้นที่รอบๆ เสาเข็มไม่มากนักในการเตรียมการทดสอบ ผลการทดสอบให้ข้อมูลที่เพียงพอเกี่ยวกับเสาเข็มในเรื่องของกําลังรับน้ําหนักและความสมบูรณ์ของเสาเข็ม เป็นการทดสอบที่ประหยัดค่าใช้จ่าย อุปกรณ์วัดสัญญาณ จะวัดสัญญาณและแสดงผลในรูปแบบของการเปลี่ยนแปลงแรงเทียบกับเวลาและการเปลี่ยนแปลงความเร็วเทียบกับเวลา โดยอุปกรณ์หลักจะประกอบไปด้วยหัววัดสัญญาณ … Read More

เสาเข็มเหลี่ยมแรงเหวี่ยง สแคว์สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile)

เสาเข็มเหลี่ยมแรงเหวี่ยง สแคว์สปันไมโครไพล์ (Square Spun Micro Pile) ทางบริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด ได้คิดค้นเสาเข็มชนิดนี้ขึ้นมาเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มมีลักษณะเป็นเสาสี่เหลี่ยม ตรงกลางกลมกลวง มีขนาดหน้าตัด 23 x 23 เซนติเมตร มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบ ผลิตโดยใช้กรรมวิธีการแรงเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง … Read More

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile)

เสาเข็มกลมแรงเหวี่ยง สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) มีลักษณะเป็นเสากลม ตรงกลางกลวง มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 21, 25, 30 เซนติเมตร มีโครงเหล็กฝังอยู่ในเนื้อคอนกรีตโดยรอบผลิตโดยใช้กรรมวิธีการแรงเหวี่ยงคอนกรีตในแบบหล่อ ซึ่งหมุนด้วยความเร็วสูง ทำให้เนื้อคอนกรีตมีความหนาแน่นสูงและเกิดรูกลมกลวงตรงกลางจากแรงเหวี่ยง จึงมีความหนาแน่นและแข็งแกร่งกว่าคอนกรีตที่หล่อโดยวิธีธรรมดา ความหนาของเนื้อคอนกรีตอยู่ในช่วง 8-10 เซนติเมตร มีความยาวต่อท่อน … Read More

ตอกเสาเข็ม สปันไมโครไพล์ (Spun Micro Pile) คลังน้ำมันเชลล์ ช่องนนทรี

งานตอกเสาเข็มสปันไมโครไพล์ คลังน้ำมันเชลล์ ช่องนนทรี  

โครงสร้างภายในของเสาเข็ม

โครงสร้างภายในของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม สปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE) ลักษณะของเสาเข็มเพื่อการต่อเติม Spun Micro Pile มีลักษณะกลม กลวงจึงช่วยลดการสั่นสะเทือนเวลาตอก ถึงแม้ว่าจะตอกเสาเข็มใช้ความยาวมาก ก็สามารถลดแรงดันของดินในขณะตอกได้ โดยดินจะขึ้นทางรูกลวงของเสาเข็ม ซึ่งจะช่วยลดความกระทบกระเทือนที่มีต่อโครงสร้าง หรืออาคารข้างเคียงได้เป็นอย่างมาก ซึ่งเสาเข็มสปันไมโครไพล์ของ บริษัท ภูมิสยาม ซัพพลาย จำกัด นั้นจะมีโครงสร้างภายในเหล็กปลอกรัดหัวเสาเข็มหัวท้ายเหล็ก … Read More

เสาเข็มสปันไมโครไพล์ (SPUN MICRO PILE)

เสาเข็มไมโครไพล์เสาเข็มเพื่อการต่อเติม Micro Pile และ Spun Micro Pile เป็นเสาเข็มสำหรับติดตั้ง ต่อเติมอาคาร บ้านเรือนต่างๆ ให้เป็นไปตามที่คุณต้องการ หากคุณเลือกใช้งานสินค้าที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน รับประกันความปลอดภัยจากการใช้งาน ไม่ว่าเวลาผ่านไปนานแค่ไหน โครงสร้างตึก, อาคาร, บ้านเรือน จะยังคงอยู่ไม่ถล่ม ยังคงรับน้ำหนักได้ดี … Read More

1 6 7 8 9 10